วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2559

โจทย์เคมี

1.  แก๊สนำไฟฟ้าได้ดีในสภาวะใด
ส่วนบนของฟอร์ม
ก.  ความดันสูง  ความต่างศักย์ต่ำ
ข.  ความดันสูง  ความต่างศักย์สูง
ค.  ความดันต่ำ  ความต่างศักย์สูง
ง.  ความดันต่ำ  ความต่างศักย์ต่ำ

ส่วนล่างของฟอร์ม
2. ข้อใดไม่ใช่แบบจำลองอะตอมของดอลตัน
ก.  อะตอมมีขนาดเล็กแบ่งแยกไม่ได้
ข.  อะตอมของธาตุต่างชนิดมีมวลนิวตรอนเท่ากันได้
ค.  อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันมีสมบัติเหมือนกัน
ง.  ธาตุทำปฏิกิริยาด้วยอัตราส่วนเลขลงตัวน้อย 
 
3. รังสีแคโทดเกิดจากส่วนใด
ก.  ขั้วแคโทด
ข.  แก๊สที่บรรจุภายใน
ค.  ขั้วแคโทด  และแก๊สที่บรรจุภายใน
ง.  ขั้วแคโทด  ขั้วแอโนดและแก๊ส
 
4. ข้อใดเป็นแบบจำลองอะตอมของทอมสัน
ก.  
ข.  
ค.  
ง.  

5. แบบจำลองอะตอมของทอมสันและแบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ดต่างกันอย่างไร
ก.  ชนิดของอนุภาคในอะตอม
ข.  ตำแหน่งของอนุภาคในอะตอม
ค.  จำนวนอนุภาคในอะตอม
ง.  ขนาดอนุภาคในอะตอม
 

6. จากการทดลองของโกลด์สไตน์  ทำให้ทราบได้ว่า
ก.  รังสีบวกเกิดจากแก๊สที่บรรจุภายใน
ข.  รังสีบวกไม่มีประจุไม่มีมวล
ค.  รังสีบวกมีมวลเท่ากันเสมอ
ง.  รังสีบวกมีอัตราส่วนประจุคงที่

 
7. เราทราบมวลอิเล็กตรอนจาการทดลองของใคร
ก.  ทอมสัน
ข.  มิลลิแกน
ค.  รัทเทอร์ฟอร์ด
ง.  ทอมสันและมิลลิแกน
 
8. อิเล็กตรอน  5  กรัม  มีจำนวนอิเล็กตรอนเท่าใด
ก.  7.5 x 1028
ข.  1.6 x 1028
ค.  5.5 x  10 27
ง.  5.5 x 1028
 
9. อิเล็กตรอนมี e/m  เท่าใด
ก.  1.6 x 10–19  e/g
ข.  1.76 x 108  e/g
ค.  9.11 x 10–28  e/g
ง.  1.675 x 109 e/g
 
10. อิเล็กตรอน  2.1x1021  อิเล็กตรอนมีมวลเท่าใด
ก.1.8 x 10–5
ข.
1.9 3x10–6
ค.
2.8 x 10–5
ง.
1.9 x 10–6

 เฉลยเคมี 
1.ค
2.ข
3.ค
4.ก
5.ข
6.ก
7.ง
8.ค
9.ข
10.ข






แบบจำลองอะตอมของดอลตัน


ทุกสิ่งทุกอย่างประกอบขึ้นจาก อนุภาคที่เล็กมาก  เล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นได้   อนุภาคเล็กๆ เหล่านี้จะรวมพวกเข้าด้วยกันโดยวิธิการต่างๆ สำหรับอนุภาคเองนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงและไม่สามารถจะแตกแยกออกเป็นชิ้นส่วนที่เล็กลงไปอีกได้  ดีโมครี- ตัสตั้งชื่ออนุภาคนี้ว่า อะตอม (Atom)   จากภาษากรีกที่ว่า  atoms  ซึ่งมีความหมายว่า  ไม่สามารถแบ่งแยกได้อีก   ตามความคิดเห็นของเขา  อะตอมเป็นชิ้นส่วนที่เล็กที่สุดของสสารที่สามารถจะคงอยู่ได้  อ่านต่อ

แบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก


เป็นแบบจำลองที่นักวิทยาศาสตร์คิดว่าเป็นไปได้มากที่สุดทั้งนี้ได้จากการประมวลผลการทดลองและข้อมูลต่างๆ   อะตอมภายหลังจากที่นีลส์โบร์  ได้เสนอแบบจำลองอะตอมขึ้นมา อาจสรุปได้ดังนี้
1. อิเล็กตรอนไม่สามารถวิ่งรอบนิวเคลียสด้วยรัศมีที่แน่นอน  บางครั้งเข้าใกล้บางครั้งออกห่าง จึงไม่สามารถบอกตำแหน่งที่แน่นอนได้   แต่ถ้าบอกได้แต่เพียงที่พบอิเล็กตรอนตำแหน่งต่างๆภายในอะตอมและอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่เร็วมากจนเหมือนกับอิเล็กตรอนอยู่ทั่วไป ในอะตอมลักษณะนี้เรียกว่า " กลุ่มหมอก"  อ่านต่อ

แบบจําลองอะตอมของทอมสัน

 
ความรู้เกี่ยวกับสมบัติทางไฟฟ้าในสมัยโบราณเริ่มขึ้นเมื่อมนุษย์รู้จักนำแท่งอำพันมาถูกับผ้าขนสัตว์แล้วพบว่าแท่งนั้นสามารถดูดของเบาๆได้ นักปราชญ์ในสมัยคริสตศตวรรษที่สิบแปดอธิบายว่า สารทั้งปวงประกอบด้วยของไหลสองอย่าง คือ ไฟฟ้าลบและไฟฟ้าบวก หากเกิดการเสียดสีหรือถู สมบัติทางไฟฟ้าของสารจะปรากฏขึ้น เนื่องจากของไหลทั้งสองมีไม่เท่ากัน อ่านต่อ

แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด


ได้ทำการทดลองยิงอนุภาคแอลฟา ( นิวเคลียสของอะตอมฮีเลียม ) ไปที่แผ่นโลหะบาง ในปี พ.ศ.2449 และพบว่าอนุภาคนี้ สามารถวิ่งผ่านได้เป็นจำนวนมาก แต่จะมีเพียงส่วนน้อยที่เป็นอนุภาคที่กระเจิง ( การที่อนุภาคเบนจากแนวการเคลื่อนที่จากที่เดิมไปยังทิศทางต่างๆกัน ) ไปจากแนวเดิมหรือสะท้อนกลับทางเดิม อ่านต่อ

แบบจำลองอะตอมของโบร์


นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามศึกษาเรื่องเกี่ยวกับอะตอม โดยได้เสนอแบบจำลองอะตอมจากการทดลองที่เกิดขึ้น ซึ่งแบบจำลองของรัทเธอร์ฟอร์ดได้รับการยอมรับแต่ก็ยังไม่สมบูรณ์ จึงมีผู้พยายามหาคำอธิบายเพิ่มเติม โดยในปี 1913 นีล โบร์ (Niels Bohr) นักวิทยาศาสตร์ชาวเดนมาร์ก ได้ทำการศึกษาการเกิดสเปกตรัมของก๊าซไฮโดรเจน และได้สร้างแบบจำลองอะตอมเพื่อใช้อธิบายลักษณะการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนรอบ ๆ นิวเคลียสเป็นวงคล้ายกับวงโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ แต่ละวงจะมีระดับพลังงานเฉพาะตัว และเรียกระดับพลังงานของอิเล็กตรอนที่อยู่ใกล้นิวเคลียสที่สุด ซึ่งมี อ่านต่อ

วิวัฒนาการของการสร้างตารางธาตุ

ภายหลังการค้นพบธาตุต่างๆ และศึกษาสมบัติของธาตุเหล่านี้  นักวิทยาศาสตร์ได้หาความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติต่างๆ ของธาตุและนำมาใช้จัดธาตุเป็นกลุ่มได้หลายลักษณะ ในปี พ.ศ.2360 (ค.ศ. 1817) โยฮันน์ เดอเบอไรเนอร์เป็นนักเคมีคนแรกที่พยายามจัดธาตุเป็นกลุ่มๆ ละ 3 ธาตุตามสมบัติที่คล้ายคลึงกันเรียกว่า ชุดสาม โดยพบว่าธาตุกลางจะมีมวลอะตอม *เป็นค่าเฉลี่ยของมวลอะตอมของอีกสองธาตุที่เหลือ ตัวอย่างธาตุชุดสามของเดอเบอไรเนอร์ เช่น Na เป็นธาตุกลางระหว่าง Li  กับ มีมวลอะตอม  23  ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของมวลอะตอมของธาตุ Li ซึ่งมีมวลอะตอม 7 กับธาตุ K ซึ่งมีมวลอะตอม  39  แต่เมื่อนำหลักของชุดสามไปใช้กับธาตุกลุ่มอื่นที่มีสมบัติคล้ายกัน พบว่าค่ามวลอะตอมของ ธาตุกลางไม่เท่ากับค่าเฉลี่ยของมวลอะตอมของสองธาตุที่เหลือ หลักชุดสามของเดอเบอไรเนอร์จึงไม่เป็นที่ยอมรับในเวลาต่อมา อ่านต่อ